การหยิบยกความเป็นไทยโยนใส่กันในการถกเถียงประเด็นเปลือยอกเล่นสงกรานต์น่าหวาดหวั่น เพราะสะท้อนเข้าใจผิดบวกยึดมั่นถือมั่นที่น่ากลัว
ฝ่ายเสียงดังมองว่าการเปิดเผยเนื้อตัวในที่สาธารณะสะท้อนความไม่รักนวลตามแบบวัฒนธรรมไทย อีกฝ่ายบอกว่าคนสยามแต่เดิมเปลือยอกเป็นเรื่องธรรมดา
พูดกันในวงวิชาการมานานว่าค่านิยมเรื่องเพศกระแสหลักที่ภาครัฐยึดถือ "ไม่ไทยและไม่พุทธ" แต่นำเข้าความเชื่อและวิถีแบบฝรั่งห่อหุ้มด้วยความเป็นไทย (อ่านรายละเอียดประเด็นนี้ได้ใน "ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี" อีกหนึ่งงานวิจัยที่โดนแบนของชลิดาภรณ์)
คนไทยจำนวนไม่น้อยความจำสั้น ลืมไปหมดแล้วว่าค่านิยมเรื่องเพศที่เน้นการปกปิดร่างกายและขังเซ็กส์ในการแต่งงานเป็นของนำเข้าช่วงกลางรัตนโกสินทร์
ความทรงจำคลาดเคลื่อนว่าค่านิยมเรื่องเพศแบบฝรั่งหลายอย่างเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย ทำให้เกิดการประณามคนที่ไม่ทำตามว่าไม่รักษาความเป็นไทย
การอ้างอิงความเป็นไทยประณามการกระทำหลุดกรอบค่านิยมเรื่องเพศแบบนำเข้า ทำให้การโต้เถียงหรือชวนคิดเป็นไปได้ยาก เพราะเห็นต่าง=ไม่ไทย=ทำลายสังคม
ดูเหมือนค่านิยมเรื่องเพศหลายชุดที่ผสมปนเประหว่างของเดิม ของนำเข้า และวิถีปฏิบัติและการมองโลกที่เปลี่ยนไปตามเวลา ดำรงอยู่ไปพร้อมกันในสังคมไทย
การเถียงกันเรื่องเพศไม่น่าจะอ้างความเป็นไทยแบบมักง่าย หรืออ้างวิถีเดิมของสยามแบบผู้รู้ เพราะดูเหมือนคนไทยจะไม่ได้เป็นอย่างที่แต่ละฝ่ายเห็น
เรื่องเพศของคนไทยไม่เหมือนคนสยาม ไม่ใช่พุทธตามคำสอน (แต่เป็นพุทธแบบบอกเล่า+นิยมเทพและผี) แต่ผสมอะไรไว้หลายอย่างจนเถียงกันบนฐานเดียวลำบาก
การผสมปนเปของค่านิยมเรื่องเพศ+การให้ค่ากับความกล้าแสดงออกและความพอใจของบุคคล ทำให้ได้เห็นการกระทำทางเพศมากมายที่ไม่เป็นตามกรอบหลัก
น่ามหัศจรรย์ที่คนไม่สงสัยว่าความเชื่อและค่านิยมที่ตัวเองยึดถือเป็นจินตนาการที่เชื่อมกับความเป็นไทย ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีของผู้คนในสังคมนี้
คนไม่ตั้งคำถามกับค่านิยมหลักเรื่องเพศแบบนำเข้า แต่โกรธประณามเมื่อเห็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับจินตนาการว่าด้วยความถูกต้องเรื่องเพศของตนเอง
คนไทยมักอธิบายสาเหตุของปัญหาต่างๆโดยโทษคนบางคน ตั้งแต่สาวถอดเสื้อเล่นสงกรานต์ไปถึงทักษิณ คิดว่าจัดการกับคนที่เป็นต้นเหตุได้ปัญหาก็จบ
การยึดมั่นค่านิยมเรื่องเพศแบบนำเข้าและไม่อยากเผชิญหน้ากับความซับซ้อนของปัญหา ทำให้หลายคนสบายใจ+พอใจกับการขอโทษของสาวที่ถอดเสื้อเล่นสงกรานต์
การโต้เถียงเรื่องค่านิยมเรื่องเพศ ความเป็นไทย ผลกระทบของนโยบายขายประเพณีเพื่อการท่องเที่ยว เงียบงันไปเพราะคนพอใจที่ได้เห็นการขอโทษของ 3 สาว
ประมาณว่าเมื่อ “คนผิด” สำนึกผิดและขอโทษ (แพะถูกบูชายัญ) สังคมก็กลับไปสงบสุขเหมือนเดิม จนกว่าจะถูกเขย่าอีกครั้งด้วยเรื่องน่าตกใจอื่นๆต่อไป
อาจจะไม่เกี่ยวกับ topic :) แต่ไม่ชอบที่เวลาผู้ใหญ่ชอบว่าเด็กใจแตก _*_ คนเมื่อก่อนเค้าแต่งงานกันตั้งแต่ 14-15 นี่เเสดงว่าคนสมัยนั้นเค้าเริ่มเงี่ยนกันเร็วกว่าเด็กมหาลัยสมันนี้อีกนะค่ะ แล้วไปที่ว่าเด็กเค้าอยู่กันก่อนแต่งตามหอพักข้างมหาลัยนี่ทำไมไปโทษศีลธรรมและสังคมว่ามันเสื่อมโทรมล่ะค่ะ ในเมื่อเด็กพวกนี้เริ่มทนความเงี่ยนไม่ไหวช้ากว่าเสียอีก
ตอบลบ