วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ตีตรา-ใส่ร้าย- ป้ายสี: รัฐไทย กฎหมายและการค้าบริการทางเพศ

ตีตรา-ใส่ร้าย- ป้ายสี: รัฐไทย กฎหมายและการค้าบริการทางเพศ

ทัศนะเรื่องการค้าบริการที่แย้งกันเอง 
• การค้าบริการในฐานะความชั่วร้ายที่จำเป็น คือเป็นการกระทำที่เลวร้ายแต่ไม่มีก็ไม่ได้ เพราะจำเป็นต่อการสนองความต้องการทางเพศของผู้ชายเพื่อไม่ให้ไปล่วงละเมิด "หญิงดี" คนอื่นในสังคม ถ้ามองว่าไม่ดีไปเลยอาจยุ่งน้อยกว่านี้
• ความเข้าใจเกี่ยวกับการค้าบริการทางเพศสุภาพคนซื้อเป็นผู้ชาย คนขายเป็นผู้หญิง มองไม่เห็นความซับซ้อนของปรากฏการณ์ที่ฝ่ายผู้ขายเป็นไปโดยซับซ้อน
• การประณามหญิงค้าบริการ/ คนค้าบริการ - whore stigma (ตีตรา "กะหรี่")
   การปลูกฝัง/ ตอกยำ้ผ่านหลายช่องทาง
   ตัวอย่างความละมุนของการตีตรา "กะหรี่" จากละคร "กลรัก ลวงใจ" เคนบอกว่า "บัวระวงเธอไม่น่าเป็นผู้หญิงขายตัวเลย" (ไม่เช่นนั้นก็จะได้อยู่ร่วมกันได้?) ทำให้คนดูไม่รู้ตัวว่ากำลังรับเอาวิธีมองคนค้าบริการทางเพศในทางลบ??

กฎหมายสะท้อนความขัดแย้งกันเองนี้ คือเน้นการปรามไม่ใช่การปราบหรือจำกัดให้สิ้นซาก 
แต่การบังคับใช้กฎหมายตั้งบนฐานอคติและความไม่ชัดเจน
ผลคือการรังแกคนมากมายโดยรัฐ
การตีตรากับความเป็นพลเมือง - การมองตัวเองและถูกคนอื่นมอง

• ตีตราคน
    -  กฎหมายให้ภาพของคนค้าบริการที่เฉพาะ เช่น ยากจน โง่เขลาเบาปัญญา ถ้าไม่ได้มีภาพตามนี้ก็ชั่วเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
    -  อาการ สัญญาณ และพฤติกรรมที่สื่อว่าค้าบริการ -- ไล่ปราบหรือรีดไถ??
    -  คนที่ไม่เหมือนภาพที่กฎหมายกำหนด หรือความเข้าใจทั่วไป ถูกตีตราซำ้ซ้อน -- TGs/ male sex workers เจอกับการกล่าวหาโดยรัฐในแง่มุมอื่น เช่นยาเสพติดหรือโขมยของเพิ่มเติมไปจากค้าบริการทางเพศ
    -  Whore stigma - การถูกลงโทษโดยกฎหมายอื่นแม้เมื่อไม่ได้ละเมิดพรบ.ปราม/ เปิดให้คนด่ากันได้ซึ่งหน้า/ ประณามได้/ รังแกได้ เช่นขายบริการโดนข่มขืนไม่ได้ ตร.ไม่รับแจ้งความเมื่อโดนกระทำความรุนแรง หรือเบี้ยวค่าตัว

• ใส่ร้าย/ ป้ายสี - พฤติกรรมบางอย่างทำให้ถูกจัดว่าขายบริการ โดนดูหมิ่นเหยียดหยามได้ ลงโทษแบบมั่วๆโดยอ้างกฎหมายผิดๆถูกๆได้
    ใส่ร้ายได้โดยไม่เห็นว่าเป็นความอยุติธรรม

การตีตรา-ใส่ร้าย-ป้ายสี ทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครอง เข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพและบริการสาธารณะอื่น ถูกกระทำความรุนแรง/เอารัดเอาเปรียบ - ความเป็นมนุษย์กับความเป็นพลเมืองลดลง

การใช้กฎหมายแบบนี้ทำให้คนเข้าใจกฎหมายผิด และตอกยำ้อคติของคน กลายเป็นว่าการค้าบริการผิดเพราะทั้งออกนอกกรอบเรื่องเพศ และผิดกฎหมาย กลายเป็นการตอกยำ้กันไปมา วนเวียนไปเรื่อย ๆ

การค้าบริการจึงถูกประณามแบบย้อนแย้งกันเอง และรังแกคนโดยไม่เห็นความซับซ้อนของประเด็น

ความไม่เท่าเทียมและการต่อสู้ในโครงสร้างที่ไม่เท่าเทียม อำนาจต่อรองไม่เหมือนผู้หญิงชนชั้นกลาง คนค้าบริการลุกขึ้นสู้ไม่ได้ง่ายนัก มีแนวโน้มสยบยอม เพราะมีตำแหน่งแห่งที่เสียเปรียบในทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับการถูกตีตรา "กะหรี่" ทำให้รู้สึกตำ่ต้อย 

วิธีมองการค้าบริการในสังคมไทย - รังเกียจแต่ซื้อ ไม่เปลี่ยนโครงสร้างที่เชื่อว่าทำให้คนค้าบริการ ไม่ช่วยคนนอกจากจะเลิกค้า หรือไม่ช่วยเพราะรังเกียจ การมองเช่นนี้เป็นฐานของการรังแกและเบียดขับโดยประชาสังคมและรัฐที่น่าคิดต่อร่วมกัน

การสู้ในประเด็นการค้าบริการทางเพศไม่ได้เรียกร้องให้สงสาร แต่เป็นเรื่องการทำความเข้าใจ เคารพคนในฐานะคน- ท้าทายวิธีการมองโลกและการยึดหลักความเป็นพลเมืองและสิทธิในบริบทของความไม่เท่าเทียมและหลากหลายที่มีมิติของการตีตรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น